วันจันทร์, 9 กันยายน 2567

มข.ช่วยศิลปินหมอลำอีสานแถลงปกป้องสิทธิ์ผลประโยชน์การละเมิดสิขสิทธิ์ภาพนิ่งและวิดีทัศน์การแสดงสด เปิด4ข้อคู่มือดูหมอลำ

เมื่อวันที่ 5 สิงหาคม 2563 เวลา 13.30 ณ ห้องประชุมสิริคุณากร 3 อาคารสิริคุณากร มหาวิทยาลัยขอนแก่นมหาวิทยาลัยขอนแก่น โดย ฝ่ายศิลปวัฒนธรรมและเศรษฐกิจสร้างสรรค์ ศูนย์วัฒนธรรม และชมรมหมอลำเรื่องต่อกลอน ได้ร่วมแถลงข่าว “การถูกละเมิดสิทธิ์การบันทึกภาพนิ่งหรือภาพวิดีทัศน์การแสดงหมอลำ” โดยมี รศ.ดร.นิยม วงศ์พงษ์คำ รองอธิการบดีฝ่ายศิลปวัฒนธรรมและเศรษฐกิจสร้างสรรค์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ร่วมด้วย นางอุไร ฉิมหลวง หรือ นกน้อย อุไรพร ในฐานะประธานชมรมหมอลำเรื่องต่อกลอน นายภักดี พลล้ำ ในฐานะรองประธานชมรมหมอลำเรื่องต่อกลอน และนายสมจิตร ทองบ่อ หรือ “สมจิตร บ่อทอง” ศิลปินหมอลำและคณะกรรมการชมรมหมอลำเรื่องต่อกลอน ร่วมในการแถลงข่าว นอกจากนี้ยังมีรักษาการแทนผู้อำนวยการศูนย์ศิลปวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยขอนแก่น คณะผู้บริหาร ตัวแทนจากวัฒนธรรมจังหวัด ศิลปินหมอลำกว่า 22 คณะ และสื่อมวลชน ร่วมเป็นเกียรติในพิธีแถลงข่าว

สำหรับการแถลงข่าว “การถูกละเมิดสิทธิ์การบันทึกภาพนิ่งหรือภาพวิดีทัศน์การแสดงหมอลำ” จัดขึ้นเนื่องจากมหาวิทยาลัยขอนแก่น โดย ฝ่ายศิลปวัฒนธรรมและเศรษฐกิจสร้างสรรค์ ศูนย์วัฒนธรรม และชมรมหมอลำเรื่องต่อกลอนภาคอีสาน รวมถึงศิลปินหมอลำ ได้เล็งเห็นถึงปัจจุบันที่สื่อสังคมออนไลน์ได้เข้ามามีบทบาทในการดําเนินชีวิต จึงมีระบบการดําเนินงานธุรกิจและสื่อประชาสัมพันธ์ในรูปแบบต่าง ๆ ผ่านสื่อสังคมออนไลน์มากมาย อาทิ YouTube, Facebook และ Line เป็นต้น ซึ่งสามารถสร้างมูลค่าทางธุรกิจได้ นับเป็นโอกาสที่ผู้สร้างสรรค์ผลงาน จะได้เผยแพร่ผลงาน และสร้างรายได้จากงานสร้างสรรค์ผ่านช่องทางดังกล่าว ซึ่งในวงการหมอลําเรื่องต่อกลอนก็เช่นเดียวกัน ได้มีการสร้างสรรค์ผลงานที่มาจากสติปัญญา ความวิริยะ อุตสาหะ และจากการระดมความคิดของกลุ่มคนซึ่งสั่งสมประสบการณ์ เกิดเป็นภูมิปัญญาที่ตกทอดเป็นมรดกทางวัฒนธรรมจากรุ่นสู่รุ่นเป็นเวลายาวนาน เป็นผลงานที่สร้างสรรค์ขึ้นบนเวทีการแสดง ทําให้ผลงานนั้นจึงเป็นทรัพย์สินทางปัญญาที่คณะหมอลําเป็นผู้ทรงสิทธิ์ทางกฎหมายไว้ซึ่งการหาผลประโยชน์จากการเผยแพร่ผลงานการแสดงรวมถึง กิจกรรมต่าง ๆ ที่เกิดจากการสร้างสรรค์ผลงานของคณะหมอลํา และรักษาผลประโยชน์และป้องกันผลกระทบที่จะทำให้เกิดความเสียหายให้กับคณะหมอลำโดยการที่บุคคลหรือกลุ่มบุคคลใดที่จะรับงานโฆษณา ประชาสัมพันธ์ โดยการเผยแพร่ ดัดแปลง หรือ ทําซ้ำการแสดงของคณะหมอลําผ่านช่องทางสื่อออนไลน์ต่า งๆ เช่น Facebook, line, YouTube เป็นต้น ต้องได้รับ การยินยอมจากคณะหมอลํานั้น ๆ เสียก่อนจึงจะดําเนินการดังกล่าวได้

นางอุไร ฉิมหลวง หรือ นกน้อย อุไรพร ในฐานะประธานชมรมหมอลำเรื่องต่อกลอน กล่าวว่า ในการแถลงข่าวการถูกละเมิดสิทธิ์การบันทึกภาพนิ่งหรือภาพวิดีทัศน์การแสดงหมอลำ เบื้องต้นได้มีการประชุมร่วมกับมหาวิทยาลัยขอนแก่น โดย รศ.นพ.ชาญชัย พานทองวิริยะกุล อธิการบดีมหาวิทยาลัยขอนแก่น เป็นประธานในการประชุม และเห็นถึงความสำคัญอย่างยิ่ง โดยที่ผ่านมามีการมองข้ามเรื่องของการละเมิดลิขสิทธิ์การแสดงสด ซึ่งล้วนเป็นทรัพย์สินทางปัญญาและเป็นภูมิปัญญาที่มีการสั่งสมกันมาอย่างยาวนาน ตกทอดมาจากบรรพบุรุษ คณะหมอลำหลายคณะมีการสั่งสมมามากกว่า 60-70 ปี เมื่อมาถึงยุคสื่อสังคมออนไลน์ และมาถึงการเกิดวิกฤตการแพร่ระบาดของโควิด-19 ทำให้เกิดช่องว่างโดยเฉพาะมีการละเมิดสิทธิ์ในการสร้างรายได้ตามสื่อสังคมออนไลน์ มากยิ่งขึ้นและยากที่จะควบคุม ในกลุ่มของคณะหมอลำทั่วภาคอีสานจึงเล็งเห็นความสำคัญในการเผยแพร่หมอลำผ่านสื่อสังคมออนไลน์ต่างๆ ซึ่งล้วนละเมิดสิทธิ์และทรัพย์สินทางปัญญาของผู้สร้างสรรค์ผลงาน จึงได้มีการรวมกลุ่มของคณะหมอลำในภาคอีสานและเรียกร้องในการเล็งเห็นถึงลิขสิทธิ์และทรัพย์สินทางปัญญาในส่วนนี้

โดย รศ.ดร.นิยม วงศ์พงษ์คำ กล่าวว่า มหาวิทยาลัยขอนแก่นเล็งเห็นความสำคัญ และเชื่อว่าพี่น้องหมอลำภาคอีสานมีความสบายใจยิ่งขึ้น ในนามมหาวิทยาลัยขอนแก่นซึ่งเป็นสถาบันทางภาครัฐยืนยันที่จะปกป้อง และให้ความช่วยเหลือทุกด้านเต็มที่ตามศักยภาพ เมื่อเจ็บป่วยก็มีโรงพยาบาลศรีนครินทร์รองรับ หากติดขัดเรื่องกฎหมายก็มีคณะนิติศาสตร์ที่ร่วมช่วยเหลือ ทางมหาวิทยาลัยขอนแก่นขอเป็นส่วนหนึ่งในการร่วมทุกข์ร่วมสุขในทุกด้าน โดยเฉพาะความเดือดร้อนของรากวัฒนธรรมที่ต้องยื่นมือเข้าช่วยเหลือต่อไป

หัวข้อหลักๆในการแถลงการณ์ชมรมหมอลำเรื่องต่อกลอน มี 4 ข้อดังนี้

  1. อนุญาตให้เผยแพร่ ทําซ้ำ หรือดัดแปลง ภาพนิ่งศิลปินหรือการแสดงหน้าเวทีหรือผลงานอันมีสิทธิ์อื่น ๆ ที่ไม่ก่อให้เกิดความเสียหายกับศิลปินและทางคณะหมอลํา แต่ไม่อนุญาตให้เผยแพร่ภาพเคลื่อนไหวหรือภาพนิ่งของ ศิลปิน การแสดงของวงหมอลํา หรือกิจกรรมอื่นใดของวงหมอลําที่ไม่เหมาะสม โดยที่ภาพดังกล่าวอาจนําไปสู่ความเสียหายกับศิลปินหรือวงหมอลํา
  2. อนุญาตให้เผยแพร่ คลิปวีดีโอความยาวไม่เกิน 5 นาทีในสื่อออนไลน์ที่ชอบด้วยกฎหมายและไม่ขัดต่อ ศีลธรรมอันดีของประชาชน และต้องเป็นคลิปวีดีโอที่ไม่ก่อความเสียหายต่อชื่อเสียง หรือเป็นการละเมิดสิทธิอย่าง หนึ่งอย่างใดให้กับทางศิลปินและคณะหมอลํา หากผู้ใดมีความประสงค์จะเผยแพร่ ผลงานการแสดงหน้าเวทีหรือ กิจกรรมใด ๆ ที่เกี่ยวกับการแสดงของคณะหมอลําที่เป็นสมาชิกในภาคีเครือข่ายหมอลําเรื่องต่อกลอนในรูปแบบของ ภาพเคลื่อนไหวในสื่อออนไลน์ใด ๆ เช่น YouTube, Facebook และ Line เป็นต้น ที่มีความยาวเกิน 5 นาที เพื่อ แสวงหาประโยชน์ให้กับตน จะดําเนินการได้ก็ต่อเมื่อได้รับการอนุญาตให้เผยแพร่จากคณะหมอลํานั้น ๆ หรือกรณีที่มีกฎหมายอนุญาตให้ทําได้
  3. อนุญาตให้มีการถ่ายทอดสด (live) การแสดงของวงหมอลําหรือเผยแพร่ผลงานอันมีลิขสิทธิ์ทาง Facebook, line , Youtube เพจส่วนตัว หรือสื่อออนไลน์อื่น ๆ ได้ ในความยาวไม่เกิน 15 นาที แต่ต้องมิใช่การ กระทําเพื่อแสวงหาผลประโยชน์ส่วนตนในเชิงพาณิชย์และต้องเป็นเนื้อหาการถ่ายทอดสดที่ไม่ก่อความเสียหาย ให้กับทางศิลปินและคณะหมอลํา หากมีความประสงค์จะถ่ายทอดสด (live) ที่เผยแพร่ผลงานอันมีลิขสิทธิ์ใน ช่องทางFacebook, Line, YouTube หรือสื่อออนไลน์อื่น ๆ เกิน 15 นาที จะทําได้ก็ต่อเมื่อได้รับอนุญาตจากทาง คณะหมอลําในฐานะผู้ทรงสิทธิ์เท่านั้น
  4. ในการที่บุคคลหรือกลุ่มบุคคลใดที่จะรับงานโฆษณา ประชาสัมพันธ์ โดยการเผยแพร่ ดัดแปลง หรือ ทําซ้ำการแสดงของคณะหมอลําผ่านช่องทางสื่อออนไลน์ต่า งๆ เช่น Facebook, line, YouTube เป็นต้น ต้องได้รับ การยินยอมจากคณะหมอลํานั้น ๆ เสียก่อนจึงจะดําเนินการได้

Loading