วันพฤหัสบดี, 5 ธันวาคม 2567

อินเตอร์ลิ้งค์ฯ จับมือกับภาครัฐเดินหน้าจัดโครงการแข่งขัน “สุดยอดฝีมือสายสัญญาณปี 8 (Cabling Contest 2020)”

เมื่อวันที่ 26 ส.ค. 63 เวลา 09.30 น. ณ โรงแรม AVANI Khon Kaen Hotel & Convention Centre จังหวัดขอนแก่น ได้มีพิธีเปิดโครงการแข่งขัน “สุดยอดฝีมือสายสัญญาณปี 8 (Cabling Contest 2020)” มีนายสุเทพ มณีโชติ รองผู้ว่าราชการจังหวัดขอนแก่น

เป็นประธานในพิธีเปิดงานดังกล่าว มีนายนัฐวุฒิ ปิ่นทองคำ ผู้อำนวยการฝ่ายการตลาดและสื่อสารองค์กรฯ เป็นผู้กล่าวรายงาน มีนายเลอพงษ์ แตงเนียม ผู้อำนวยการสถาบันพัฒนาฝีมือแรงงาน 6 ขอนแก่น,คุณศิรินทร์ทิพย์ ชลีวรณ์ ผู้แทนศึกษาธิการจังหวัดขอนแก่น และนักเรียน นักศึกษา ครู สื่อมวลชนเดินทางมาร่วมงานกว่า 500 คน

บริษัท อินเตอร์ลิ้งค์ คอมมิวนิเคชั่น จำกัด (มหาชน) ผู้นำเข้าและจัดจำหน่ายสายสัญญาณที่ใหญ่ที่สุดใน อาเซียน ได้เล็งห็นความสำคัญในการพัฒนาศักยภาพสำหรับนักเรียน นักศึกษา เพื่อการต่อยอดทักษะและความรู้  ในเวทีระดับโลก พร้อมทั้งเปิดโอกาสนักศึกษา ได้แสดงความสามารถ อีกทั้งเป็นการยกระดับคุณภาพ สถานศึกษาที่ทัดเทียมระดับนนาชาติ สู่มาตรฐานสากล การเรียนรู้ของนักศึกษายุคใหม่ จึงจำเป็นต้องมีการปรับ ทั้งกระบวนการเรียนรู้ พัฒนาทักษะ การปรับกระบวนทัศน์ควรเป็นไปอย่างมีเป้าหมาย อย่างรู้เท่าทันสถานการณ์การสร้างความสามารถในการทำงานร่วมกับผู้อื่นที่ต่างวัฒนธรรมได้


          สำหรับการแข่งขันสุดยอดฝีมือสายสัญญาณ โดยมีรูปแบบการแข่งขันในปีนี้ ยังคงเป็นแบ่งเป็นภาคทฤษฎีและภาคปฎิบัติเช่นเดิม ซึ่งภาคปฏิบัติเป็นการแข่งขันการติตตั้ง LINK Nework Swich & Cablng  สำหรับการจัดกิจกรรมนี้ขึ้นเพื่อให้นักเรียนนักศึกษาได้มีโอกาสแสดงความสามารถในการแข่งขันเวทีระดับโลก และโอกาสเป็นตัวแทนของประเทศไทยในการแข่งขันระดับ Asian Skill โดยมีโอกาสชิงเงินรางวัลรวมมูลค่ากว่า 400,000 บาท พร้อมถ้วยรางวัลพระราชทานจากสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ถ้วยรางวัลเกียรติยศจากนายกรัฐมนตรีและถ้วยรางวัลจากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม


          โดยการแข่งขันดังกล่าว ส่งเสริมให้ผู้เข้าแข่งขันได้เกิดการเรียนรู้ด้านการใช้งานสายสัญญาณอย่างถูกต้องมากยิ่งขึ้น เปิดโอกาสให้เยาวชนได้เรียนรู้ และพัฒนาตนเองทางด้านเทคโนโลยีได้ทัดเทียมกับต่างประเทศ ส่งเสริมให้การใช้สายสัญญาณและอุปกรณ์ที่เกี่ยวเนื่องได้อย่างถูกต้องเพื่อประหยัดเงินตราและทรัพยากรที่เราต้องนำเข้าจากต่างประเทศ ผู้ที่มีพื้นฐานความรู้ทางด้านวิศวกรรมและสายสัญญาณมีความเข้าใจที่ถูกต้องและสามารถต่อยอดการใช้งานสายสัญญาณในแนวทางใหม่ๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ และสถาบันการศึกษามีการพัฒนา และผลิตผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านนี้เพิ่มมากขึ้นในอนาคต

Loading