วันอังคาร, 3 ธันวาคม 2567

ประกันสังคมฯวอนนายจ้างเร่งรับรองลูกจ้าง เพื่อให้ผู้ประกันตนได้รับเงินโดยเร็ว

ณ ศูนย์บริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) (ศบค.) โถงกลาง ตึกสันติไมตรี ทำเนียบรัฐบาล นายทศพล กฤตวงศ์วิมาน เลขาธิการสำนักงานประกันสังคม นางพิศมัย นิธิไพบูลย์ หัวหน้าผู้ตรวจราชการกรม สำนักงานประกันสังคม และนายนันทชัย ปัญญาสุรฤทธิ์ ผู้อำนวยการสำนักเงินสมทบ ชี้แจงมาตรการช่วยเหลืยผู้ได้รับผลกระทบจากไวรัสโควิด 19 จากกองทุนประกันสังคม สรุปสาระสำคัญ ดังนี้ เลขาธิการสำนักงานประกันสังคม รายงานการจ่ายประโยชน์ทดแทนกรณีว่างงานจากเหตุสุดวิสัยว่าตั้งแต่วันที่ 24 มี.ค. – 2 พ.ค. 63 มีผู้ประกันตนมายื่นขอใช้สิทธิ์ทั้งสิ้น 1,177,841 ราย จากการใช้ระบบตรวจสอบข้อมูลพบว่า มีข้อมูลที่ยื่นซ้ำหรือไม่ใช่ผู้ประกันตนตามมาตรา 33 ที่จะได้สิทธิทั้งสิ้น 219,537 ราย คงเหลือผู้ที่มีสิทธิ์ทั้งสิ้น 958,304 ราย จะดำเนินการจ่ายได้ตั้งแต่วันที่กฎหมายมีผลบังคับใช้คือ 17 เม.ย.63 โดยเร่งดำเนินการวินิจฉัยสั่งจ่ายให้กับผู้ที่มีสิทธิ์ ทั้งสิ้นจำนวน 455,717 ราย ตั้งแต่วันที่ 20เม.ย.63 ที่ผ่านมาถึง 2 พ.ค. 63 คงเหลืออีก 207,895 ราย ทั้งนี้ การที่สำนักงานประกันสังคมจะจ่ายเงินได้นั้น จะต้องมีการยื่นขอใช้สิทธิ์ 2 ทาง คือ ผู้ประกันตนที่ขอใช้สิทธิกับนายจ้างที่จะต้องรับรองสิทธิให้ลูกจ้าง ลูกจ้างจำนวน 294,692 ราย ยังรอการรับรองสิทธิจากนายจ้างประมาณ 50,000 ราย จึงขอให้นายจ้างช่วยรับรองสิทธิให้กับผู้ประกันตนด้วย ซึ่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงานได้สั่งระดมเจ้าหน้าที่กระทรวงแรงงานทุกกรม ทั้งส่วนกลางและภูมิภาค ประสานนายจ้างให้ช่วยมารับรองสิทธิ์ เพื่อสำนักงานจะได้ดำเนินการวินิจฉัย หรือนายจ้างอาจได้รับ SMS หรือ e-mail จากเว็บประกันสังคม หนังสือจากสำนักงานประกันสังคม เมื่อได้รับหนังสือแล้ว ขอนายจ้างรีบดำเนินการ ซึ่งจำนวนที่ได้สั่งจ่ายไปแล้ว 455,717 ราย คิดเป็นเงิน 2,354 ล้านบาท ยืนยันว่าสำนักงานประกันสังคมมีเงินเพียงพอ ขณะนี้มีผู้ทยอยยื่นว่างงานเฉลี่ย 30,000 คนต่อวัน หากมีข้อสงสัยหรือข้อสอบถามสามารถติดต่อสำนักงานประกันสังคมได้ที่เบอร์สายด่วน 1506 โอกาสนี้ หัวหน้าผู้ตรวจราชการกรม สำนักงานประกันสังคม ในฐานะโฆษกสำนักงานประกันสังคมกล่าวว่า การสำนักงานประกันสังคมได้ปรับเพิ่มสิทธิประโยชน์กรณีว่างงานเนื่องจากมีเหตุสุดวิสัย ให้ขยายความคุ้มครองผู้ประกันตนจากภัยอันเกิดจากโรคโควิด 19 ซึ่งผู้ประกันตนและนายจ้างสามารถตรวจสอบและยื่นเอกสารเข้ามาทางเว็บไซต์ของสำนักงานประกันสังคม ซึ่งมีการพัฒนาการยื่นรับรองระบบ E-service เพื่อให้ข้อมูลถูกต้องและชัดเจน สามารถนำมาประกอบการวินิจฉัยได้เร็วขึ้น กรณีนายจ้างที่ยังไม่ได้ลงทะเบียนรับ USER และ Password สามารถดำเนินการได้หน้าเว็บไซต์และจะมีการออก USER และ Password ตอบกลับไปยัง Email ของท่านและสามารถยื่นรับรองในวันเดียวกัน ผู้ตรวจราชการกรมยืนยันว่า สำนักงานประกันสังคมระดมสรรพกำลังติดตามให้นายจ้าง ซึ่งพบปัญหา บางกรณีนายจ้างยังประกอบกิจการอยู่แต่ลูกจ้างยื่นเข้ามา กรณีนี้ไม่สามารถรับเงินเยียวยาได้ เพราะยังมีการประกอบกิจการ อีกกรณีหนึ่ง นายจ้างมีการหยุดงานจริงแต่ยื่นขอใช้มาตรา 75 ของกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน คือ มีการจ่ายเงินให้กับลูกจ้างร้อยละ 75 เปอร์เซ็นต์ของเงินเดือน ซึ่งสำนักงานประกันสังคมถือว่า เงินตรงนั้นเป็นค่าจ้างที่จะต้องนำส่งสำนักงานประกันสังคม ลูกจ้างก็จะไม่ได้ใช้สิทธิเยียวยาของสำนักประกันสังคม ทั้งนี้ สำนักงานประกันสังคมจะนำข้อมูลทั้งหลายมาหักออกจากจำนวนลูกจ้างที่ให้นายจ้างยื่นรับรอง เพื่อนำไปบริหารต่อเพื่อจะได้เร่งจ่ายเงินเยียวยา ผู้ตรวจราชการกรมยังชี้แจงกรณี ที่มีการยื่นเข้ามาแล้วเงินเดือนเท่ากันแต่ไม่ได้รับเงินเท่ากันว่า กรณีการวินิจฉัยจ่ายเงินมีการรับรองยื่นว่างงานเข้ามาตั้งแต่ช่วงแรกที่มีเหตุสุดวิสัย อย่างไรก็ตาม กฎกระทรวงของประกันสังคมบังคับใช้วันที่ 17 เมษายน ดังนั้น เรื่องที่ยื่นเข้ามาก่อนได้นำมาวินิจฉัยให้ก่อน ซึ่ง ณ วันวินิจฉัยจะตัดจ่ายเงินให้ลูกจ้างรายนั้นไปก่อน ซึ่งในครั้งถัดไปจะมีการประมวลผลจ่ายเงินให้พร้อมกันในเดือนถัดไป เพราะฉะนั้นเมื่อนำมารวมกันแล้วก็จะได้รับเงินเท่ากันเดือนที่ 3 จะครบ 90 วัน ตัดจ่ายให้อีกครั้งเป็นครั้งสุดท้าย จะได้รับเงินเท่ากัน ผู้ตรวจราชการกรมกล่าวกรณีที่การคำนวณเงินสมทบที่คำนวณเป็นรายวันว่า เนื่องจากว่าเงินสมทบที่นำมาคำนวณสิทธิประโยชน์ให้ใช้ฐานค่าจ้างสูงสุดที่ผู้ประกันตนนำส่งเข้ามา นำมารวมกัน 3 – 5 เดือน หากค่าจ้างไม่เท่ากัน จะนำมารวมกันแล้วหาร 90 วัน เป็นค่าจ้างต่อวัน ถ้าเป็นค่าจ้างเฉลี่ย3 เดือนสูงสุดและนำไปคูณจำนวน 90 วัน ลูกจ้างที่เงินเดือน 15,000 บาท เท่ากันทุกเดือนสามารถออกมาเท่ากันได้ แต่บางคนได้รับค่าครองชีพหรือเงินอื่น ๆ ที่ถือเป็นเงินค่าจ้างนำส่งเข้ามาด้วย จึงจะดูแต่ฐานเงินเดือนอย่างเดียวไม่ได้ ทั้งนี้ หลังจากสำนักงาน ฯ ที่ได้รับแจ้งจากหน่วยปฏิบัติจังหวัดและสำนักงานประกันสังคมทั่วประเทศ รวมถึงพื้นที่กรุงเทพมหานคร จะมีการนำจำนวนนายจ้างที่รับรองเหล่านั้นนำมาบริหารจัดการวินิจฉัยจ่ายเงินให้โดยเร็ว เพื่อทุกคนจะได้รับเงินครบถ้วน อาจจะมีการล่าช้าบ้าง ซึ่งการใช้มาตรา 75 อาจจะมีระยะเวลารอ เพราะต้องส่งให้สำนักงานสวัสดิการคุ้มครองแรงงานตรวจสอบ ก่อนจะมีการส่งกลับมาให้วินิจฉัยจ่ายเงินให้ จากนั้น ผู้อำนวยการสำนักเงินสมทบ อธิบายการลงทุนในส่วนเงินทุนประกันสังคม ในส่วนของการลงทุน 2.03 ล้านล้านบาท ร้อยละ 82 นำไปลงทุนในหลักทรัพย์ที่มีความมั่นคงสูง คือ พันธบัตรรัฐบาลเป็นส่วนใหญ่ พันธบัตรของธนาคารแห่งประเทศไทย และพันธบัตรของรัฐวิสาหกิจที่กระทรวงการคลังค้ำประกัน อีกร้อยละ 18 ลงทุนในหน่วยลงทุนที่เป็นโครงสร้างพื้นฐาน infrastructure คือ ทองคำ และหน่วยลงทุนอสังหาริมทรัพย์ ดังนั้น ผู้ประกันมั่นใจเสถียรภาพและความมั่นคงของกองทุนฯ มีความพร้อมและเพียงพอที่จะจ่ายสิทธิประโยชน์ทุกๆกรณี ทั้งนี้ สำนักงานประกันสังคมนั้น มีผลการลงทุนเฉลี่ยย้อนไป 10 ปีอยู่ที่ร้อยละ 3.8 โดยเฉลี่ย ซึ่งคณะกรรมการประกันสังคมกำกับดูแลอย่างใกล้ชิด ประกอบด้วย ผู้แทนนายจ้าง ลูกจ้าง และผู้ทรงคุณวุฒิ จากหลากหลายองค์กรของประเทศ นอกจากนั้นยังมีคณะอนุกรรมการบริหารการลงทุน ประกอบด้วยผู้ทรงคุณวุฒิ จาก กลต. ธนาคารแห่งประเทศไทย และองค์กรสำคัญของประเทศ ในส่วนการคืนเงินสมทบนั้น ลดอัตราเงินสมทบให้กับผู้ประกันตนจากร้อยละ 5 เหลือร้อยละ 1 และลดอัตราเงินสมทบให้กับสถานประกอบการ จากร้อยละ 5 เหลือร้อยละ 4 โดยเเงินเดือน 15,000 จะได้คืน 600 บาทต่อเดือน จำนวน 3 เดือน คือ 1,800 บาท กรณีสถานประกอบที่ได้หักเงินสมทบในอัตราเดิมในเดือนเมษายน จะได้คืนให้ผู้ประกันตนที่หักไว้เกิน หากยังไม่ได้ส่งเงินนายจ้างจะนำคืนลูกจ้างเลย หากนำส่งประกันสังคมแล้ว จะคืนให้กับนายจ้างดำเนินการต่อไป มาตรการลดอัตราเงินสมทบนี้ จะทำให้มีเงินกลับเข้าไประบบของผู้ประกันตนทั้งระบบ 17,000 กว่าล้านบาท ในช่วงท้าย เลขาธิการสำนักงานประกันสังคม กล่าวเพิ่มเติมถึงสิทธิในการรักษาพยาบาลว่า สำนักงานประกันสังคมดูแลผู้ป่วยจากโควิด-19 เทียบเท่ากันกับกองทุนข้าราชการหรือกองทุน สปสช. อย่างเต็มที่ โดยกองทุนประกันสังคมพร้อมดูแลและดำเนินการตามระเบียบในการเยียวยารักษาผู้ประกันตนที่ได้รับผลกระทบจากการเจ็บป่วย ขอย้ำว่าเงินประกันสังคมเกิดจาก 3 ฝ่าย คือ นายจ้าง ลูกจ้าง และรัฐบาล จ่ายตามหน้าที่ที่กฎหมายกำหนดบัญญัติ เพราะเป็นสิทธิประโยชน์ที่จะต้องดูแลพี่น้องประกันผู้ประกันตนอย่างเต็มที่ ขอย้ำให้มั่นใจว่าสำนักงานประกันสังคมมีเงินเพียงพอและอยู่ในสถานะที่มั่นคงวันนี้ (4 พฤษภาคม 63) เวลา 11.30 น. ณ ศูนย์บริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) (ศบค.) โถงกลาง ตึกสันติไมตรี ทำเนียบรัฐบาล นายทศพล กฤตวงศ์วิมาน เลขาธิการสำนักงานประกันสังคม นางพิศมัย นิธิไพบูลย์ หัวหน้าผู้ตรวจราชการกรม สำนักงานประกันสังคม และนายนันทชัย ปัญญาสุรฤทธิ์ ผู้อำนวยการสำนักเงินสมทบ ชี้แจงมาตรการช่วยเหลืยผู้ได้รับผลกระทบจากไวรัสโควิด 19 จากกองทุนประกันสังคม สรุปสาระสำคัญ ดังนี้ เลขาธิการสำนักงานประกันสังคม รายงานการจ่ายประโยชน์ทดแทนกรณีว่างงานจากเหตุสุดวิสัยว่าตั้งแต่วันที่ 24 มี.ค. – 2 พ.ค. 63 มีผู้ประกันตนมายื่นขอใช้สิทธิ์ทั้งสิ้น 1,177,841 ราย จากการใช้ระบบตรวจสอบข้อมูลพบว่า มีข้อมูลที่ยื่นซ้ำหรือไม่ใช่ผู้ประกันตนตามมาตรา 33 ที่จะได้สิทธิทั้งสิ้น 219,537 ราย คงเหลือผู้ที่มีสิทธิ์ทั้งสิ้น 958,304 ราย จะดำเนินการจ่ายได้ตั้งแต่วันที่กฎหมายมีผลบังคับใช้คือ 17 เม.ย.63 โดยเร่งดำเนินการวินิจฉัยสั่งจ่ายให้กับผู้ที่มีสิทธิ์ ทั้งสิ้นจำนวน 455,717 ราย ตั้งแต่วันที่ 20เม.ย.63 ที่ผ่านมาถึง 2 พ.ค. 63 คงเหลืออีก 207,895 ราย ทั้งนี้ การที่สำนักงานประกันสังคมจะจ่ายเงินได้นั้น จะต้องมีการยื่นขอใช้สิทธิ์ 2 ทาง คือ ผู้ประกันตนที่ขอใช้สิทธิกับนายจ้างที่จะต้องรับรองสิทธิให้ลูกจ้าง ลูกจ้างจำนวน 294,692 ราย ยังรอการรับรองสิทธิจากนายจ้างประมาณ 50,000 ราย จึงขอให้นายจ้างช่วยรับรองสิทธิให้กับผู้ประกันตนด้วย ซึ่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงานได้สั่งระดมเจ้าหน้าที่กระทรวงแรงงานทุกกรม ทั้งส่วนกลางและภูมิภาค ประสานนายจ้างให้ช่วยมารับรองสิทธิ์ เพื่อสำนักงานจะได้ดำเนินการวินิจฉัย หรือนายจ้างอาจได้รับ SMS หรือ e-mail จากเว็บประกันสังคม หนังสือจากสำนักงานประกันสังคม เมื่อได้รับหนังสือแล้ว ขอนายจ้างรีบดำเนินการ ซึ่งจำนวนที่ได้สั่งจ่ายไปแล้ว 455,717 ราย คิดเป็นเงิน 2,354 ล้านบาท ยืนยันว่าสำนักงานประกันสังคมมีเงินเพียงพอ ขณะนี้มีผู้ทยอยยื่นว่างงานเฉลี่ย 30,000 คนต่อวัน หากมีข้อสงสัยหรือข้อสอบถามสามารถติดต่อสำนักงานประกันสังคมได้ที่เบอร์สายด่วน 1506 โอกาสนี้ หัวหน้าผู้ตรวจราชการกรม สำนักงานประกันสังคม ในฐานะโฆษกสำนักงานประกันสังคมกล่าวว่า การสำนักงานประกันสังคมได้ปรับเพิ่มสิทธิประโยชน์กรณีว่างงานเนื่องจากมีเหตุสุดวิสัย ให้ขยายความคุ้มครองผู้ประกันตนจากภัยอันเกิดจากโรคโควิด 19 ซึ่งผู้ประกันตนและนายจ้างสามารถตรวจสอบและยื่นเอกสารเข้ามาทางเว็บไซต์ของสำนักงานประกันสังคม ซึ่งมีการพัฒนาการยื่นรับรองระบบ E-service เพื่อให้ข้อมูลถูกต้องและชัดเจน สามารถนำมาประกอบการวินิจฉัยได้เร็วขึ้น กรณีนายจ้างที่ยังไม่ได้ลงทะเบียนรับ USER และ Password สามารถดำเนินการได้หน้าเว็บไซต์และจะมีการออก USER และ Password ตอบกลับไปยัง Email ของท่านและสามารถยื่นรับรองในวันเดียวกัน ผู้ตรวจราชการกรมยืนยันว่า สำนักงานประกันสังคมระดมสรรพกำลังติดตามให้นายจ้าง ซึ่งพบปัญหา บางกรณีนายจ้างยังประกอบกิจการอยู่แต่ลูกจ้างยื่นเข้ามา กรณีนี้ไม่สามารถรับเงินเยียวยาได้ เพราะยังมีการประกอบกิจการ อีกกรณีหนึ่ง นายจ้างมีการหยุดงานจริงแต่ยื่นขอใช้มาตรา 75 ของกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน คือ มีการจ่ายเงินให้กับลูกจ้างร้อยละ 75 เปอร์เซ็นต์ของเงินเดือน ซึ่งสำนักงานประกันสังคมถือว่า เงินตรงนั้นเป็นค่าจ้างที่จะต้องนำส่งสำนักงานประกันสังคม ลูกจ้างก็จะไม่ได้ใช้สิทธิเยียวยาของสำนักประกันสังคม ทั้งนี้ สำนักงานประกันสังคมจะนำข้อมูลทั้งหลายมาหักออกจากจำนวนลูกจ้างที่ให้นายจ้างยื่นรับรอง เพื่อนำไปบริหารต่อเพื่อจะได้เร่งจ่ายเงินเยียวยา ผู้ตรวจราชการกรมยังชี้แจงกรณี ที่มีการยื่นเข้ามาแล้วเงินเดือนเท่ากันแต่ไม่ได้รับเงินเท่ากันว่า กรณีการวินิจฉัยจ่ายเงินมีการรับรองยื่นว่างงานเข้ามาตั้งแต่ช่วงแรกที่มีเหตุสุดวิสัย อย่างไรก็ตาม กฎกระทรวงของประกันสังคมบังคับใช้วันที่ 17 เมษายน ดังนั้น เรื่องที่ยื่นเข้ามาก่อนได้นำมาวินิจฉัยให้ก่อน ซึ่ง ณ วันวินิจฉัยจะตัดจ่ายเงินให้ลูกจ้างรายนั้นไปก่อน ซึ่งในครั้งถัดไปจะมีการประมวลผลจ่ายเงินให้พร้อมกันในเดือนถัดไป เพราะฉะนั้นเมื่อนำมารวมกันแล้วก็จะได้รับเงินเท่ากันเดือนที่ 3 จะครบ 90 วัน ตัดจ่ายให้อีกครั้งเป็นครั้งสุดท้าย จะได้รับเงินเท่ากัน ผู้ตรวจราชการกรมกล่าวกรณีที่การคำนวณเงินสมทบที่คำนวณเป็นรายวันว่า เนื่องจากว่าเงินสมทบที่นำมาคำนวณสิทธิประโยชน์ให้ใช้ฐานค่าจ้างสูงสุดที่ผู้ประกันตนนำส่งเข้ามา นำมารวมกัน 3 – 5 เดือน หากค่าจ้างไม่เท่ากัน จะนำมารวมกันแล้วหาร 90 วัน เป็นค่าจ้างต่อวัน ถ้าเป็นค่าจ้างเฉลี่ย3 เดือนสูงสุดและนำไปคูณจำนวน 90 วัน ลูกจ้างที่เงินเดือน 15,000 บาท เท่ากันทุกเดือนสามารถออกมาเท่ากันได้ แต่บางคนได้รับค่าครองชีพหรือเงินอื่น ๆ ที่ถือเป็นเงินค่าจ้างนำส่งเข้ามาด้วย จึงจะดูแต่ฐานเงินเดือนอย่างเดียวไม่ได้ ทั้งนี้ หลังจากสำนักงาน ฯ ที่ได้รับแจ้งจากหน่วยปฏิบัติจังหวัดและสำนักงานประกันสังคมทั่วประเทศ รวมถึงพื้นที่กรุงเทพมหานคร จะมีการนำจำนวนนายจ้างที่รับรองเหล่านั้นนำมาบริหารจัดการวินิจฉัยจ่ายเงินให้โดยเร็ว เพื่อทุกคนจะได้รับเงินครบถ้วน อาจจะมีการล่าช้าบ้าง ซึ่งการใช้มาตรา 75 อาจจะมีระยะเวลารอ เพราะต้องส่งให้สำนักงานสวัสดิการคุ้มครองแรงงานตรวจสอบ ก่อนจะมีการส่งกลับมาให้วินิจฉัยจ่ายเงินให้ จากนั้น ผู้อำนวยการสำนักเงินสมทบ อธิบายการลงทุนในส่วนเงินทุนประกันสังคม ในส่วนของการลงทุน 2.03 ล้านล้านบาท ร้อยละ 82 นำไปลงทุนในหลักทรัพย์ที่มีความมั่นคงสูง คือ พันธบัตรรัฐบาลเป็นส่วนใหญ่ พันธบัตรของธนาคารแห่งประเทศไทย และพันธบัตรของรัฐวิสาหกิจที่กระทรวงการคลังค้ำประกัน อีกร้อยละ 18 ลงทุนในหน่วยลงทุนที่เป็นโครงสร้างพื้นฐาน infrastructure คือ ทองคำ และหน่วยลงทุนอสังหาริมทรัพย์ ดังนั้น ผู้ประกันมั่นใจเสถียรภาพและความมั่นคงของกองทุนฯ มีความพร้อมและเพียงพอที่จะจ่ายสิทธิประโยชน์ทุกๆกรณี ทั้งนี้ สำนักงานประกันสังคมนั้น มีผลการลงทุนเฉลี่ยย้อนไป 10 ปีอยู่ที่ร้อยละ 3.8 โดยเฉลี่ย ซึ่งคณะกรรมการประกันสังคมกำกับดูแลอย่างใกล้ชิด ประกอบด้วย ผู้แทนนายจ้าง ลูกจ้าง และผู้ทรงคุณวุฒิ จากหลากหลายองค์กรของประเทศ นอกจากนั้นยังมีคณะอนุกรรมการบริหารการลงทุน ประกอบด้วยผู้ทรงคุณวุฒิ จาก กลต. ธนาคารแห่งประเทศไทย และองค์กรสำคัญของประเทศ ในส่วนการคืนเงินสมทบนั้น ลดอัตราเงินสมทบให้กับผู้ประกันตนจากร้อยละ 5 เหลือร้อยละ 1 และลดอัตราเงินสมทบให้กับสถานประกอบการ จากร้อยละ 5 เหลือร้อยละ 4 โดยเเงินเดือน 15,000 จะได้คืน 600 บาทต่อเดือน จำนวน 3 เดือน คือ 1,800 บาท กรณีสถานประกอบที่ได้หักเงินสมทบในอัตราเดิมในเดือนเมษายน จะได้คืนให้ผู้ประกันตนที่หักไว้เกิน หากยังไม่ได้ส่งเงินนายจ้างจะนำคืนลูกจ้างเลย หากนำส่งประกันสังคมแล้ว จะคืนให้กับนายจ้างดำเนินการต่อไป มาตรการลดอัตราเงินสมทบนี้ จะทำให้มีเงินกลับเข้าไประบบของผู้ประกันตนทั้งระบบ 17,000 กว่าล้านบาท ในช่วงท้าย เลขาธิการสำนักงานประกันสังคม กล่าวเพิ่มเติมถึงสิทธิในการรักษาพยาบาลว่า สำนักงานประกันสังคมดูแลผู้ป่วยจากโควิด-19 เทียบเท่ากันกับกองทุนข้าราชการหรือกองทุน สปสช. อย่างเต็มที่ โดยกองทุนประกันสังคมพร้อมดูแลและดำเนินการตามระเบียบในการเยียวยารักษาผู้ประกันตนที่ได้รับผลกระทบจากการเจ็บป่วย ขอย้ำว่าเงินประกันสังคมเกิดจาก 3 ฝ่าย คือ นายจ้าง ลูกจ้าง และรัฐบาล จ่ายตามหน้าที่ที่กฎหมายกำหนดบัญญัติ เพราะเป็นสิทธิประโยชน์ที่จะต้องดูแลพี่น้องประกันผู้ประกันตนอย่างเต็มที่ ขอย้ำให้มั่นใจว่าสำนักงานประกันสังคมมีเงินเพียงพอและอยู่ในสถานะที่มั่นคงวันนี้ (4 พฤษภาคม 63) เวลา 11.30 น. ณ ศูนย์บริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) (ศบค.) โถงกลาง ตึกสันติไมตรี ทำเนียบรัฐบาล นายทศพล กฤตวงศ์วิมาน เลขาธิการสำนักงานประกันสังคม นางพิศมัย นิธิไพบูลย์ หัวหน้าผู้ตรวจราชการกรม สำนักงานประกันสังคม และนายนันทชัย ปัญญาสุรฤทธิ์ ผู้อำนวยการสำนักเงินสมทบ ชี้แจงมาตรการช่วยเหลืยผู้ได้รับผลกระทบจากไวรัสโควิด 19 จากกองทุนประกันสังคม สรุปสาระสำคัญ ดังนี้ เลขาธิการสำนักงานประกันสังคม รายงานการจ่ายประโยชน์ทดแทนกรณีว่างงานจากเหตุสุดวิสัยว่าตั้งแต่วันที่ 24 มี.ค. – 2 พ.ค. 63 มีผู้ประกันตนมายื่นขอใช้สิทธิ์ทั้งสิ้น 1,177,841 ราย จากการใช้ระบบตรวจสอบข้อมูลพบว่า มีข้อมูลที่ยื่นซ้ำหรือไม่ใช่ผู้ประกันตนตามมาตรา 33 ที่จะได้สิทธิทั้งสิ้น 219,537 ราย คงเหลือผู้ที่มีสิทธิ์ทั้งสิ้น 958,304 ราย จะดำเนินการจ่ายได้ตั้งแต่วันที่กฎหมายมีผลบังคับใช้คือ 17 เม.ย.63 โดยเร่งดำเนินการวินิจฉัยสั่งจ่ายให้กับผู้ที่มีสิทธิ์ ทั้งสิ้นจำนวน 455,717 ราย ตั้งแต่วันที่ 20เม.ย.63 ที่ผ่านมาถึง 2 พ.ค. 63 คงเหลืออีก 207,895 ราย ทั้งนี้ การที่สำนักงานประกันสังคมจะจ่ายเงินได้นั้น จะต้องมีการยื่นขอใช้สิทธิ์ 2 ทาง คือ ผู้ประกันตนที่ขอใช้สิทธิกับนายจ้างที่จะต้องรับรองสิทธิให้ลูกจ้าง ลูกจ้างจำนวน 294,692 ราย ยังรอการรับรองสิทธิจากนายจ้างประมาณ 50,000 ราย จึงขอให้นายจ้างช่วยรับรองสิทธิให้กับผู้ประกันตนด้วย ซึ่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงานได้สั่งระดมเจ้าหน้าที่กระทรวงแรงงานทุกกรม ทั้งส่วนกลางและภูมิภาค ประสานนายจ้างให้ช่วยมารับรองสิทธิ์ เพื่อสำนักงานจะได้ดำเนินการวินิจฉัย หรือนายจ้างอาจได้รับ SMS หรือ e-mail จากเว็บประกันสังคม หนังสือจากสำนักงานประกันสังคม เมื่อได้รับหนังสือแล้ว ขอนายจ้างรีบดำเนินการ ซึ่งจำนวนที่ได้สั่งจ่ายไปแล้ว 455,717 ราย คิดเป็นเงิน 2,354 ล้านบาท ยืนยันว่าสำนักงานประกันสังคมมีเงินเพียงพอ ขณะนี้มีผู้ทยอยยื่นว่างงานเฉลี่ย 30,000 คนต่อวัน หากมีข้อสงสัยหรือข้อสอบถามสามารถติดต่อสำนักงานประกันสังคมได้ที่เบอร์สายด่วน 1506 โอกาสนี้ หัวหน้าผู้ตรวจราชการกรม สำนักงานประกันสังคม ในฐานะโฆษกสำนักงานประกันสังคมกล่าวว่า การสำนักงานประกันสังคมได้ปรับเพิ่มสิทธิประโยชน์กรณีว่างงานเนื่องจากมีเหตุสุดวิสัย ให้ขยายความคุ้มครองผู้ประกันตนจากภัยอันเกิดจากโรคโควิด 19 ซึ่งผู้ประกันตนและนายจ้างสามารถตรวจสอบและยื่นเอกสารเข้ามาทางเว็บไซต์ของสำนักงานประกันสังคม ซึ่งมีการพัฒนาการยื่นรับรองระบบ E-service เพื่อให้ข้อมูลถูกต้องและชัดเจน สามารถนำมาประกอบการวินิจฉัยได้เร็วขึ้น กรณีนายจ้างที่ยังไม่ได้ลงทะเบียนรับ USER และ Password สามารถดำเนินการได้หน้าเว็บไซต์และจะมีการออก USER และ Password ตอบกลับไปยัง Email ของท่านและสามารถยื่นรับรองในวันเดียวกัน ผู้ตรวจราชการกรมยืนยันว่า สำนักงานประกันสังคมระดมสรรพกำลังติดตามให้นายจ้าง ซึ่งพบปัญหา บางกรณีนายจ้างยังประกอบกิจการอยู่แต่ลูกจ้างยื่นเข้ามา กรณีนี้ไม่สามารถรับเงินเยียวยาได้ เพราะยังมีการประกอบกิจการ อีกกรณีหนึ่ง นายจ้างมีการหยุดงานจริงแต่ยื่นขอใช้มาตรา 75 ของกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน คือ มีการจ่ายเงินให้กับลูกจ้างร้อยละ 75 เปอร์เซ็นต์ของเงินเดือน ซึ่งสำนักงานประกันสังคมถือว่า เงินตรงนั้นเป็นค่าจ้างที่จะต้องนำส่งสำนักงานประกันสังคม ลูกจ้างก็จะไม่ได้ใช้สิทธิเยียวยาของสำนักประกันสังคม ทั้งนี้ สำนักงานประกันสังคมจะนำข้อมูลทั้งหลายมาหักออกจากจำนวนลูกจ้างที่ให้นายจ้างยื่นรับรอง เพื่อนำไปบริหารต่อเพื่อจะได้เร่งจ่ายเงินเยียวยา ผู้ตรวจราชการกรมยังชี้แจงกรณี ที่มีการยื่นเข้ามาแล้วเงินเดือนเท่ากันแต่ไม่ได้รับเงินเท่ากันว่า กรณีการวินิจฉัยจ่ายเงินมีการรับรองยื่นว่างงานเข้ามาตั้งแต่ช่วงแรกที่มีเหตุสุดวิสัย อย่างไรก็ตาม กฎกระทรวงของประกันสังคมบังคับใช้วันที่ 17 เมษายน ดังนั้น เรื่องที่ยื่นเข้ามาก่อนได้นำมาวินิจฉัยให้ก่อน ซึ่ง ณ วันวินิจฉัยจะตัดจ่ายเงินให้ลูกจ้างรายนั้นไปก่อน ซึ่งในครั้งถัดไปจะมีการประมวลผลจ่ายเงินให้พร้อมกันในเดือนถัดไป เพราะฉะนั้นเมื่อนำมารวมกันแล้วก็จะได้รับเงินเท่ากันเดือนที่ 3 จะครบ 90 วัน ตัดจ่ายให้อีกครั้งเป็นครั้งสุดท้าย จะได้รับเงินเท่ากัน ผู้ตรวจราชการกรมกล่าวกรณีที่การคำนวณเงินสมทบที่คำนวณเป็นรายวันว่า เนื่องจากว่าเงินสมทบที่นำมาคำนวณสิทธิประโยชน์ให้ใช้ฐานค่าจ้างสูงสุดที่ผู้ประกันตนนำส่งเข้ามา นำมารวมกัน 3 – 5 เดือน หากค่าจ้างไม่เท่ากัน จะนำมารวมกันแล้วหาร 90 วัน เป็นค่าจ้างต่อวัน ถ้าเป็นค่าจ้างเฉลี่ย3 เดือนสูงสุดและนำไปคูณจำนวน 90 วัน ลูกจ้างที่เงินเดือน 15,000 บาท เท่ากันทุกเดือนสามารถออกมาเท่ากันได้ แต่บางคนได้รับค่าครองชีพหรือเงินอื่น ๆ ที่ถือเป็นเงินค่าจ้างนำส่งเข้ามาด้วย จึงจะดูแต่ฐานเงินเดือนอย่างเดียวไม่ได้ ทั้งนี้ หลังจากสำนักงาน ฯ ที่ได้รับแจ้งจากหน่วยปฏิบัติจังหวัดและสำนักงานประกันสังคมทั่วประเทศ รวมถึงพื้นที่กรุงเทพมหานคร จะมีการนำจำนวนนายจ้างที่รับรองเหล่านั้นนำมาบริหารจัดการวินิจฉัยจ่ายเงินให้โดยเร็ว เพื่อทุกคนจะได้รับเงินครบถ้วน อาจจะมีการล่าช้าบ้าง ซึ่งการใช้มาตรา 75 อาจจะมีระยะเวลารอ เพราะต้องส่งให้สำนักงานสวัสดิการคุ้มครองแรงงานตรวจสอบ ก่อนจะมีการส่งกลับมาให้วินิจฉัยจ่ายเงินให้ จากนั้น ผู้อำนวยการสำนักเงินสมทบ อธิบายการลงทุนในส่วนเงินทุนประกันสังคม ในส่วนของการลงทุน 2.03 ล้านล้านบาท ร้อยละ 82 นำไปลงทุนในหลักทรัพย์ที่มีความมั่นคงสูง คือ พันธบัตรรัฐบาลเป็นส่วนใหญ่ พันธบัตรของธนาคารแห่งประเทศไทย และพันธบัตรของรัฐวิสาหกิจที่กระทรวงการคลังค้ำประกัน อีกร้อยละ 18 ลงทุนในหน่วยลงทุนที่เป็นโครงสร้างพื้นฐาน infrastructure คือ ทองคำ และหน่วยลงทุนอสังหาริมทรัพย์ ดังนั้น ผู้ประกันมั่นใจเสถียรภาพและความมั่นคงของกองทุนฯ มีความพร้อมและเพียงพอที่จะจ่ายสิทธิประโยชน์ทุกๆกรณี ทั้งนี้ สำนักงานประกันสังคมนั้น มีผลการลงทุนเฉลี่ยย้อนไป 10 ปีอยู่ที่ร้อยละ 3.8 โดยเฉลี่ย ซึ่งคณะกรรมการประกันสังคมกำกับดูแลอย่างใกล้ชิด ประกอบด้วย ผู้แทนนายจ้าง ลูกจ้าง และผู้ทรงคุณวุฒิ จากหลากหลายองค์กรของประเทศ นอกจากนั้นยังมีคณะอนุกรรมการบริหารการลงทุน ประกอบด้วยผู้ทรงคุณวุฒิ จาก กลต. ธนาคารแห่งประเทศไทย และองค์กรสำคัญของประเทศ ในส่วนการคืนเงินสมทบนั้น ลดอัตราเงินสมทบให้กับผู้ประกันตนจากร้อยละ 5 เหลือร้อยละ 1 และลดอัตราเงินสมทบให้กับสถานประกอบการ จากร้อยละ 5 เหลือร้อยละ 4 โดยเเงินเดือน 15,000 จะได้คืน 600 บาทต่อเดือน จำนวน 3 เดือน คือ 1,800 บาท กรณีสถานประกอบที่ได้หักเงินสมทบในอัตราเดิมในเดือนเมษายน จะได้คืนให้ผู้ประกันตนที่หักไว้เกิน หากยังไม่ได้ส่งเงินนายจ้างจะนำคืนลูกจ้างเลย หากนำส่งประกันสังคมแล้ว จะคืนให้กับนายจ้างดำเนินการต่อไป มาตรการลดอัตราเงินสมทบนี้ จะทำให้มีเงินกลับเข้าไประบบของผู้ประกันตนทั้งระบบ 17,000 กว่าล้านบาท ในช่วงท้าย เลขาธิการสำนักงานประกันสังคม กล่าวเพิ่มเติมถึงสิทธิในการรักษาพยาบาลว่า สำนักงานประกันสังคมดูแลผู้ป่วยจากโควิด-19 เทียบเท่ากันกับกองทุนข้าราชการหรือกองทุน สปสช. อย่างเต็มที่ โดยกองทุนประกันสังคมพร้อมดูแลและดำเนินการตามระเบียบในการเยียวยารักษาผู้ประกันตนที่ได้รับผลกระทบจากการเจ็บป่วย ขอย้ำว่าเงินประกันสังคมเกิดจาก 3 ฝ่าย คือ นายจ้าง ลูกจ้าง และรัฐบาล จ่ายตามหน้าที่ที่กฎหมายกำหนดบัญญัติ เพราะเป็นสิทธิประโยชน์ที่จะต้องดูแลพี่น้องประกันผู้ประกันตนอย่างเต็มที่ ขอย้ำให้มั่นใจว่าสำนักงานประกันสังคมมีเงินเพียงพอและอยู่ในสถานะที่มั่นคง

Loading