วันจันทร์, 9 กันยายน 2567

ม.ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จัดใหญ่ การประชุมวิชาการและนำเสนอผลงานวิจัยระดับชาติ ครั้งที่ 7

ม.ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จัดใหญ่ การประชุมวิชาการและนำเสนอผลงานวิจัยระดับชาติ ครั้งที่ 7 ชูนวัตกรรมการเรียนรู้สู่การพัฒนาสู่ชุมชน ด้วยการประชุมผ่านระบบออนไลน์ ตามมาตรฐานความปลอดภัยด้านสาธารณสุขอย่างเข้มงวด

ที่ มหาวิทยาลัยภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ดร.เอกอนันต์ สมบัติสกุลกิจ อธิการบดีมหาวิทยาลัยภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เป็นประธานการประชุมวิชาการและนำเสนอผลงานวิจัยระดับชาติ ครั้งที่ 7 เรื่อง “นวัตรกรรมการเรียนรู้สู่การพัฒนาชุมชน” The 7th NEU National Conference 2020 (NEUNC 2020)
“Learning Innovation for Community Development” ผ่านระบบออนไลน์ตามมาตรฐานความปลอดภัยด้านสาธารณสุข จากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดต่อไวรัสโคโรน่า หรือ โควิด-19 อย่างเข้มงวด
ดร.เอกอนันต์ สมบัติสกุลกิจ อธิการบดีมหาวิทยาลัยภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กล่าวว่า การประชุมวิชาการและ การนำเสนอผลงานวิจัยระดับชาติ ครั้งที่ 7 ของมหาวิทยาลัยภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ในครั้งนี้เป็นเวทีที่เปิดโอกาสให้กับคณาจารย์ , นักวิจัย ,นิสิต นักศึกษา ได้นำเสนอผลงานซึ่งได้ศึกษาค้นคว้าทางวิชาการ – การทำวิจัย และนวัตกรรมใหม่ๆ ทางการศึกษา เพื่อนำมาเผยแพร่ต่อสาธารณชน ซึ่งจะเป็นประโยชน์ต่อวงการการศึกษาในประเภทต่างๆ ถือได้ว่าเป็นการกระตุ้นความสนใจในการศึกษาเรียนรู้เกี่ยวกับงานวิจัย ให้แก่ผู้สนใจงานวิจัยได้ขยายผลต่อไป
“ การประชุมครั้งนี้เป็นไปตามมาตรฐานความปลอดภัยด้านสาธารณสุข จากสถานการณ์ที่เกิดขึ้นฯ ซึ่งในการประชุมและการนำเสนอผลงานวิจัยนั้น ทุกขั้นตอนเป็นไปอย่างสมบูรณ์แบบ โดยมีคณาจารย์ผู้ทรงคุณวุฒิกำกับอย่างเข้มงวด ทุกผลงานวิจัยเป็นผลงานที่มีคุณภาพ ตรงกับความต้องการ และได้รับความสนใจจากประชาชน ครอบคลุมด้านเศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรม การใช้เทคโนโลยีแบบสมัยใหม่ ทั้งหมด อีกทั้งในขณะนี้ได้เกิดการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือโรคโควิด-19 ทำให้เกิดผลกระทบในด้านต่างๆ ไปทั่วโลก ทำให้วิถีชีวิตเราจำเป็นต้องมีการปรับเปลี่ยน ต้องมีการปรับตัวกันครั้งใหญ่ กระบวนการวิจัยที่มีคุณภาพ ที่ได้ถูกนำเสนอในวันนี้จึงมีความสำคัญต่อการเข้ามาแก้ไขปัญหา และหาหนทางออกจากปัญหาที่เกิดขึ้นร่วมกัน”
อธิการบดีมหาวิทยาลัยภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กล่าวต่ออีกว่า ในการประชุมได้กำหนดการประชุมออกเป็นกลุ่มย่อยรูปแบบออนไลน์ ผ่านแอพพลิเคชั่นซูม เพื่อนําเสนอผลงานวิจัย รวมจํานวน 120 ผลงาน แบ่งเป็น ด้านการศึกษา จํานวน 52 ผลงาน, ด้านวิทยาศาสตร์สุขภาพ จํานวน 6 ผลงาน, ด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีจํานวน 26 ผลงาน,ด้านมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ จํานวน 15 ผลงาน,ด้านบริหารธุรกิจและเศรษฐศาสตร์ จํานวน 16 ผลงาน และ ด้านเกษตรกรรมและการประมงจํานวน 5 ผลงาน อย่างไรก็ตาม ถึงเวลาแล้วที่เราควรจะได้เห็นระบบการวิจัยแบบใหม่ แนวใหม่ที่มีลักษณะการทำงานแบบแนวราบ/คือร่วมกันคิดกันอย่างจริงจังเกี่ยวกับ การวิจัยระบบ เพื่อจะได้ส่งเสริมให้มี พลวัตรในการพัฒนาระบบการวิจัยได้อย่างต่อเนื่อง กระผมคิดว่าเราควรมาช่วยกันมารวมพลังกันทำงาน ที่เราเห็นร่วมกันว่าสำคัญเร่งด่วน ซึ่งน่าจะเกิดผลดีต่อ วงการศึกษาและช่วยกันพัฒนาประเทศให้มั่นคง มั่งคั่ง ยั่งยืน สนองตอบนโยบายของรัฐบาลในการพัฒนาประเทศต่อไป

Loading