วันพุธ, 4 ธันวาคม 2567

สำนักงานเขตสุขภาพที่ 7 ได้จัดแถลงข่าว ติดตามสถานการณ์ และการเตรียมความพร้อมทางด้านทรัพยากร ในการรับมือของโรคไวรัสโคโรนา 2019

แถลงข่าวสถานการณ์covid-19ความพร้อมด้านทรัพยากร ของเขตสุขภาพที่7 ร้อยแก่นสารสินธุ์ โดย นพ.สมฤกษ์ จึงสมาน ผู้ตรวจราชการกระทรวงสาธารณสุข เขตสุขภาพที่ 7 ร้อยแก่นสารสินธ์ุุ วันที่ 7 มกราคม 2564 สำนักงานเขตสุขภาพที่ 7 ได้จัดแถลงข่าว ติดตามสถานการณ์ และการเตรียมความพร้อมทางด้านทรัพยากร ในการรับมือของโรคไวรัสโคโรนา 2019 โดยมี นายแพทย์สมฤกษ์ จึงสมาน ผู้ตรวจราชการกระทรวงสาธารณสุข เขตสุขภาพที่ 7 พร้อม นพ.อุดม ภู่วโรดม สาธารณสุนิเทศก์เขตสุขภาพที่ 7 นพ.ธีรวัฒน์ วลัยเสถียร ผู้อำนวยการสำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 7 ขอนแก่น นพ.สมชายโชติ ปิยวัชร์เวลา นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดขอนแก่น นายกมลพงศ์ สงวนตระกูล ประธานหอการค้าจังหวัดขอนแก่น นายวุฒิไกร สุวรรณวานิช รองประธานฝ่ายประสานงานภาครัฐ สภาอุตสาหกรรมจังหวัดขอนแก่น ร่วมกันแถลงข่าว ณ ห้องประชุมร้อยแก่นสารสินธุ์ สำนักงานเขตสุขภาพที่ 7 จังหวัดขอนแก่น นายแพทย์สมฤกษ์ จึงสมาน ผู้ตรวจราชการกระทรวงสาธารณสุข เขตสุขภาพที่ 7 ได้กล่าวถึง สถานการณ์ การระบาดระลอกใหม่ของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ในพื้นที่เขตสุขภาพที่ 7 ซึ่งประกอบด้วยจังหวัดขอนแก่น ร้อยเอ็ด กาฬสินธุ์ และมหาสารคาม ณ วันที่ 6 มกราคม 2564 เวลา 14.00 น. มีผู้ป่วยสะสม ในเขตสุขภาพที่ 7 จำนวน 7 ราย ได้แก่จังหวัดขอนแก่น 5 ราย ร้อยเอ็ด 1 รายและมหาสารคาม 1 ราย ความพร้อมด้านทรัพยากร เขตสุขภาพที่ 7 มีนโยบายในการสำรองเวชภัณฑ์คงคลังไม่น้อยกว่า 2 เดือน เช่น หน้ากากอนามัย N95 ฟาวิพิราเวียร์ 250 มก. ชุดคลุมป้องกันร่างกาย(Coverall) ชุดอุปกรณ์ป้องกันส่วนบุคคล(PPE) ชุดน้ำยาตรวจโควิด ฯลฯ ซึ่งทุกจังหวัด ได้สำรองเวชภัณฑ์ดังกล่าวพร้อมใช้มาตรการเฝ้าระวังควบคุมป้องกันโรค เขตสุขภาพที่ 7 ผู้ตรวจราชการกระทรวงสาธารณสุข เขตสุขภาพที่ 7 หากได้รับความร่วมมือทั้งภาคประชาชน สถานประกอบการ ในการสื่อสารในมาตรการป้องกัน เราจะสามารถฝ่าฟันวิกฤตครั้งนี้ไปด้วยกัน โดยมาตรการในการป้องกันควบคุมโรคโควิด-19 4 ด้าน ได้แก่ 1. ด้านบุคคล: เน้นมาตรการ D-M-H-T-T / การรับผิดชอบตนเองและสังคม /การป้องกันกลุ่มเปราะบาง D: Social Distancing เว้นระยะห่าง 1-2 เมตร เลี่ยงการอยู่ในที่แออัด M: Mask Wearing สวมหน้ากากผ้าหรือหน้ากากอนามัยตลอดเวลา H: Hand Washing ล้างมือบ่อย ๆ ด้วยน้ำและสบู่ หรือเจลแอลกอฮอล์ T: Testing การตรวจวัดอุณหภูมิและตรวจหาเชื้อโควิด-19 ในกรณีที่มีอาการเข้าข่าย T: Thai Cha Na สแกนไทยชนะก่อนเข้า-ออกสถานที่สาธารณะทุกครั้ง เพื่อให้มีข้อมูลในการประสานงานได้ง่ายขึ้น 2. ด้านสังคม: สื่อสารทุกช่องทาง ขอความร่วมมืองดกิจกรรมเสี่ยง ตอบโต้ข่าวปลอม(fake news) สถานที่รัฐและเอกชน เคร่งครัดในมาตรการตามที่ คณะกรรมการโรคติดต่อจังหวัดประกาศ/สร้างสิ่งแวดล้อม เสริมมาตรการป้องกันการแพร่กระจายเชื้อ 3. ด้านสาธารณสุข: มีการเฝ้าระวัง ค้นหาเชิงรุกในกลุ่มเสี่ยง/ ความพร้อมทีมหน่วยปฏิบัติการควบคุมโรคติดต่อ (CDCU: Communicable Disease Control Unit) และชุดปฏิบัติการเคลื่อนที่เร็ว / มี อสม.ช่วยสอดส่อง 4. ด้านการแพทย์: สำรองเวชภัณฑ์ วัสดุ อุปกรณ์ พร้อมใช้ / มีคลินิกตรวจโรคติดเชื้อระบบทางเดินหายใจ (ARI: Acute Respiratory Infection) ใน รพ.ทุกแห่ง /เตรียมเตียงไว้สำหรับรองรับผู้ป่วยความรุนแรงทุกระดับ และโรงพยาบาลสนาม รองรับผู้ป่วยทุกจังหวัด นายแพทย์สมฤกษ์ จึงสมาน กล่าวเน้นย้ำว่า ถึงแม้จะมีความพร้อมของเวชภัณฑ์ต่างๆ แล้วก็ตาม เขตสุขภาพที่ 7 ขอความร่วมมือประชาชนและภาคเอกชน ให้ปฏิบัติตนตามมาตรการป้องกันการระบาดอย่างเคร่งครัด ขอแนะนำให้ประชาชนยึด หลัก D-M-H-T-T เพื่อป้องกันตนเองจากโรคโควิด-19 และให้สังเกต อาการโควิด ของตนเอง หากมีไข้ และมีอาการระบบทางเดินหายใจให้รีบไปพบแพทย์โดยเร็ว รวมถึงเฝ้าระวังผู้ที่เดินทางมาจาก พื้นที่เสี่ยงสูง ให้แจ้งเจ้าหน้าที่ด้าน นพ.สมชายโชติ ปิยวัชร์เวลา นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดขอนแก่น ได้ตอบคำถามผู้สื่อข่าว ในเรื่องการเตรียมความพร้อมโรงพยาบาลสนาม ในการรับมือ COVID-19 โดยทางจังหวัดขอนแก่นได้วางแผน Step Up โดยใช้ศักยภาพทางการแพทย์ รพ.ขอนแก่น รพ.ศรีนครินทร์ รพ.เอกชน รพ.ค่าย กรณีที่ต้องการใช้ศักยภาพในการดูแลที่ซับซ้อน ส่วนกรณีที่มีผู้ป่วยอาากรปานกลางเราจะใช้ step down สิรินธร ชุมแพ บ้านไผ่ กระนวน น้ำพอง คนไข้ที่มีอาการปานกลาง ด้านการเตรียมlสามารถปรับเป็น รพ.สนาม ได้วางแผนเตรียม รพ. จิตเวชราช จำนวน 30 เตียง จำนวน และ ศูนย์อนามัย ที่ 7 จำนวน 80 เตียงไว้รองรับ หากมีอาการรุนแรงก็จะสามารถส่งต่อมาที่ รพ.ขอนแก่น ได้สะดวกรวดเร็ว ระยะทางไม่ไกล และได้พัฒนาศักยภาพโรงพยาบาลระดับอำเภอในการรองรับผู้ป่วยที่อาการไม่รุนแรง กรณีที่จำเป็นที่ต้องรองรับผู้ป่วยจำนวนมากรองรับได้ไม่หมด วางแผนเตรียม รพ.สนามไว้ที่ พุทธมณฑล กองร้อย อส. และศูนย์ป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย ด้านนายกมลพงศ์ สงวนตระกูล ประธานหอการค้าจังหวัดขอนแก่น กล่าวว่า ด้านสาธารณสุขมีการการสื่อสารที่ดี ทั้งการให้ความรู้ตัวโรคสื่อสารเตรียมการป้องกันกับประชาชน ให้มีข้อมูลพร้อมและเข้าใจ ทำให้ผู้ประกอบการมั่นใจในระบบการป้องกันและมาตรฐานสาธารณสุข ภาคเอกชนยินดีสนับสนุนสื่อสารกับผู้ประกอบการสร้างความเชื่อมั่นประกอบเรามีการรายงานตัวกลุ่มเสี่ยงที่เดินทางมาจากพื้นที่เสียงผ่าน QR Code และ ไทยชนะ มีความยินดีและมั่นใจในระบบสาธารณสุขขอนแก่น ด้านนายวุฒิไกร สุวรรณวานิช รองประธานฝ่ายประสานงานภาครัฐ สภาอุตสาหกรรมจังหวัดขอนแก่น กล่าวต่ออีกว่าการสื่อสารเข้าใจร่วมกัน มั่นใจบุคลากรทางแพทย์พร้อมรบและมั่นใจในระบบสาธารณสุข และประชาชนให้ความร่วมมือเต็มที่เราจะก้าวผ่านวิกฤติครั้งนี้ไปด้วยกัน

ที่มา/สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดขอนแก่น

Loading