วันเสาร์, 12 ตุลาคม 2567

ม.ขอนแก่น สุดเจ๋ง ผลิตแบตเตอรี่สำรองสำหรับชุดพีเอพีอาร์ นวัตรกรรมใหม่สู้ภัยโควิดแห่งแรกของประเทศไทยพร้อมเสปรย์ฆ่าเชื้อที่ฆ่าได้จริง 100%

ม.ขอนแก่น สุดเจ๋ง ผลิตแบตเตอรี่สำรองสำหรับชุดพีเอพีอาร์ นวัตรกรรมใหม่สู้ภัยโควิดแห่งแรกของประเทศไทยพร้อมเสปรย์ฆ่าเชื้อที่ฆ่าได้จริง 100%

เมื่อเวลา 11.00 น. วันที่ 9 ก.ย. 2564 ที่ห้องประชุมหนองแวง อาคารเรียนรวม ชั้น 6 คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น หรือ มข. รศ.นพ.ชาญชัย พานทองวิริยะกุล อธิการบดีมหาวิทยาลัยขอนแก่น หรือ มข. ทำการส่งมอบ แบตเตอรี่สำรองสำหรับ ชุด PAPR suit จำนวน 10 ชุด และ Bio active spray จำนวน 50 ชุด ซึ่งนวัตกรรมสู้ภัยโควิด-19 ผลงานวิจัยของทีมนักวิจัย มข. ที่สำเร็จเป็นแห่งแรกของประเทศไทย

รศ.นพ.ชาญชัย พานทองวิริยะกุล อธิการบดีมหาวิทยาลัยขอนแก่น หรือ มข. กล่าวว่า จากผลงานวิจัยของทีมนักวิจัย มข. ที่วันนี้สำเร็จเป็นแห่งแรกของประเทศไทย 2 ผลงานเด่นประกอบด้วยแบตเตอรี่สำหรับการใช้งานของชุด PAPR (พีเอพีอาร์) ซึ่งเป็นชุดที่บุคลากรทางการแพทย์สวมใส่สำหรับการดูแลผู้ป่วยโควิด เนื่องจากการปฎิบัติงานของบุคลากรนั้นเวลาเข้าไปดูแลผู้ป่วยจะต้องใช้เวลานาน จึงต้องมีแบตเตอรี่ที่สามารถให้เครื่องมือทำงานได้ 6-8 ชั่วโมง คณะวิทยาศาสตร์ มข. โดยทีมนักวิจัยแบตเตอรี่ จึงทำการวิจัยให้เป็นเซลทรงกระบอกเหมือนแบตเตอรี่เทสล่าที่เป็นยานยนต์ไฟฟ้าที่ มข.ทำสำเร็จเป็นรายแรกของประเทศที่ได้มาตรฐาน มอก. และก็ได้มาตรฐา IEC ระดับสากล

“ด้วยนวัตรกรรมดังกล่าวจึงสามารถนำเซลมาประกอบเป็นแบตเตอรี่สำหรับชุด PAPR ที่จะใช้ถ่าน 4-8 ก้อน ตามขนาดการทำงานของแต่ละชุด ที่จะได้ไฟที่แตกต่างกันออกไป เพื่อให้สามารถใช้งานได้ 6-8 ชั่วโมง ซึ่งวันนี้ได้มอบให้กับโรงพยาบาลศรีนครินทร์จำนวน 10 ชุด ตามการสนับสนุนจากรัฐบาล โดยที่ มข.มีเป้าหมายผลิตแบตเตอรี่ดังกล่าวให้ได้ 1,000 ชุด โดยขณะนี้ได้ถูกนำมาใช้งานที่ รพ.ศรีนครินทร์ 10 ชุด ทั้งนี้ข้อดีแบตเตอรี่ที่ มข.ผลิตจะใช้งานได้ 7-8 ชั่วโมง เล็กกระทัดรัด น้ำหนักเบา พกพาสะดวก มีช่องชาร์ตที่หลากหลาย มีหน้าจอแสดงผลแบตเตอรี่เป็นเปอร์เซนต์ ทั้งยังคงมีระบบ Quick Charge ได้อีกด้วย ขณะที่ Bio active spray ได้เป็นผลงานของทางคณะวิศวกรรมศาสตร์ ที่คิดค้นและวิจัยได้สำเร็จเช่นกัน”

อธิการบดี มข. กล่าวต่ออีกว่า ผลงานวิจัยเด่นอีกหนึ่งผลงาน จากคณะวิศวกรรมศาสตร์ เรียกว่า Bio active spray ซึ่งเป็นสารที่ใช้ฆ่าเชื้อไวรัสและแบคทีเรีย สำหรับการพ่นไปที่พรหมและเสื้อผ้าเพราะในช่วงสถานการณ์โควิดคนก็กลัวว่าจะมีเชื้อตกหล่น ดังนั้นสเปรย์ตัวนี้เมื่อพ่นไปแล้วจะสามารถฆ่าเชื้อได้ 100% ได้ในเวลาอันรวดเร็ว ยณะที่เมื่อเทียบกับสินค้าที่มีอยู่ในท้องตลาด ผลงานของ มข.สามารถฆ่าเชื้อได้เร็วกว่าในเปอร์เซ็นต์ที่สูงกว่า และสิ่งสำคัญคือ มข.ผลิตเอง ซึ่งสามารถควบคุมต้นทุนและราคาได้เอง จึงได้ราคาต้นทุนในการผลิตที่ไม่มากนัก อย่างไรก็ตาม มข. จะพัฒนานวัตกรรมดังกล่าว เพื่อต่อยอดทางธุรกิจต่อไปในอนาคต

ผู้สนับสนุนแพลตฟอร์มข่าว-0628929797 DNk79R.jpg Phh9Db.jpg sAyptI.jpg DasKLf.jpg Da2r0R.png DpkFp1.jpg banner1-08.gif Aqh3Ka.jpg Dp1Qd0.png 2wk8Dt.jpg 2wcwIv.jpg

Loading


เรื่องที่เกี่ยวข้อง
คณะแพทยศาสตร์ มข.จับมือ ชมรมหมอลำเรื่องต่อกลอนจัดงานคอนเสิร์ต HOPE for Health เพื่อผู้ป่วยโรค หลอดเลือดในสมอง
งานสัปดาห์วิทยาศาสตร์ มข. ปี 67 วันที่ 18-20 ส.ค. นี้ กับแนวคิด“วิทยาศาสตร์เพื่อชีวิต สิ่งแวดล้อมและสังคม BCG”
สำนักบริการวิชาการ เดินหน้าหารือ แนวทางการทำหลักสูตรเพื่อคนพิการ ร่วมกับหน่วยงานภายนอก ตั้งเป้าสร้างอาชีพ 100 คน ภายใต้แนวคิด “เปลี่ยนภาระ เป็นพลัง”
มข.เปิดตัวนวัตกรรมทางการแพทย์ ช่วยวินิจฉัยตรวจจับกระดูกสะโพกหักจากภาพเอกซเรย์ผู้ช่วยคุณหมอมือใหม่โดยปัญญาประดิษฐ์ทางการแพทย์
สำนักบริการวิชาการ มข. สร้างองค์ความรู้กฎหมาย ฯ UpSkill เพิ่มศักยภาพบุคลากรท้องถิ่น รุ่นที่ 1
สำนักบริการวิชาการ มข. จัดอบรม UpSkill บุคลากรองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น