วันอังคาร, 21 มีนาคม 2566

กฟผ. แบ่งเบาภาระค่าไฟฟ้าประชาชน อุ้มค่าเอฟทีกว่า 36,000 ล้านบาท พร้อมปรับแผนบริหารจัดการเชื้อเพลิงใหม่ ลดต้นทุนค่าไฟฟ้าได้ถึง 14,800 ล้านบาท

กฟผ. แบ่งเบาภาระค่าไฟฟ้าประชาชน อุ้มค่าเอฟทีกว่า 36,000 ล้านบาท พร้อมปรับแผนบริหารจัดการเชื้อเพลิงใหม่ ลดต้นทุนค่าไฟฟ้าได้ถึง 14,800 ล้านบาท

กฟผ. ช่วยลดภาระค่าไฟฟ้าของประชาชน อุ้มค่าเอฟทีกว่า 36,000 ล้านบาท รุดปรับแผนบริหารจัดการเชื้อเพลิงใหม่ โดยเลื่อนปลดโรงไฟฟ้าแม่เมาะเครื่องที่ 8 ที่ใช้เชื้อเพลิงถ่านหิน ออกไป 1 ปี และเดินเครื่องโรงไฟฟ้าบางโรงด้วยน้ำมันเตา-ดีเซล แทนก๊าซฯ ช่วยลดต้นทุนค่าไฟฟ้าได้ถึง 14,800 ล้านบาท

ดร.จิราพร ศิริคำ รองผู้ว่าการยุทธศาสตร์ การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) ในฐานะโฆษก กฟผ.เปิดเผยว่า ในสถานการณ์วิกฤตพลังงานที่ราคาก๊าซธรรมชาติหรือ LNG ในตลาดโลกปรับตัวสูงขึ้นอย่างต่อเนื่องตั้งแต่ปลายปี 2564 จนถึงปัจจุบัน รวมทั้งอัตราแลกเปลี่ยนค่าเงินที่อ่อนค่าลง ส่งผลกระทบโดยตรงต่อต้นทุนการผลิตไฟฟ้า ทำให้ค่าไฟฟ้าสูงขึ้น กฟผ. ตระหนักถึงผลกระทบที่เกิดขึ้นต่อประชาชนเป็นอย่างยิ่ง จึงเร่งดำเนินการ ตามแนวทางการบริหารจัดการก๊าซธรรมชาติ ของคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ (กพช.) เมื่อวันที่ 6 มกราคม 2565 ด้วยการปรับแผนบริหารจัดการเชื้อเพลิงใหม่ โดยเลื่อนแผนการปลดโรงไฟฟ้าแม่เมาะ เครื่องที่ 8 ที่มีกำหนดปลดออกจากระบบผลิตไฟฟ้าในวันที่ 1 มกราคม 2565 ที่ผ่านมา เนื่องจากหมดอายุการใช้งาน ออกไปจนถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2565 รวมระยะเวลาประมาณ 1 ปี ซึ่งจะช่วยลดต้นทุนการผลิตไฟฟ้าในภาพรวมของประเทศลงได้ คาดว่า การเดินเครื่องโรงไฟฟ้าแม่เมาะเครื่องที่ 8 ซึ่งใช้ถ่านหินเป็นเชื้อเพลิง กำลังผลิตประมาณ 2,160 ล้านหน่วย เทียบเท่ากับการใช้ LNG ประมาณ 15,330 ล้านลูกบาศก์ฟุต จะสามารถช่วยลดต้นทุนการผลิตไฟฟ้าลงได้ถึงประมาณ 12,200 ล้านบาท และ กฟผ. ยังได้ปรับเปลี่ยนการใช้เชื้อเพลิงของโรงไฟฟ้าบางปะกงและโรงไฟฟ้าเอกชนในภาคตะวันตกให้มาใช้น้ำมันเตาและน้ำมันดีเซล แทนการใช้ก๊าซฯ ระหว่างเดือนพฤศจิกายน – ธันวาคม 2564 เพื่อลดการนำเข้า LNG คิดเป็นพลังงานไฟฟ้าที่ผลิตได้ประมาณ 1,235 ล้านหน่วย เทียบเท่ากับการใช้ LNG 7,839 ล้านลูกบาศก์ฟุต ช่วยลดต้นทุนการผลิตไฟฟ้าลงได้ถึง 2,600 ล้านบาท

ดร.จิราพร ศิริคำ กล่าวต่อไปว่า นอกจากนี้ กฟผ. ยังได้แบกรับต้นทุนเชื้อเพลิงค่าก๊าซฯ แทนผู้ใช้ไฟฟ้าในงวดเดือนกันยายน – ธันวาคม 2564 ไปก่อนเป็นการชั่วคราวอีกประมาณ 36,000 ล้านบาท

อย่างไรก็ตาม กฟผ. ยังเตรียมพร้อมแผนรองรับอื่น ๆ ไว้อีกด้วย อาทิ การปรับแผนการผลิตไฟฟ้าจากโรงไฟฟ้าพลังน้ำต่างประเทศให้สอดคล้องรองรับกับสถานการณ์ และแนวทางการรับซื้อไฟฟ้าจากผู้ผลิตไฟฟ้าขนาดเล็ก (SPP) ประเภทพลังงานหมุนเวียน เพิ่มเติมจากสัญญาเดิม พร้อมทั้งจัดตั้ง War Room เพื่อติดตามข้อมูลราคาเชื้อเพลิงแต่ละประเภท และพิจารณาเปรียบเทียบต้นทุนการผลิตไฟฟ้าจาก LNG ร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้วิกฤตพลังงานในครั้งนี้ผ่านพ้นไปได้ด้วยดี

ผู้สนับสนุนแพลตฟอร์มข่าว-0628929797 DasKLf.jpg Da2r0R.png DpkFp1.jpg banner1-08.gif Dp1Qd0.png 2wk8Dt.jpg 2wcwIv.jpg

 355 total views,  1 views today


เรื่องที่เกี่ยวข้อง
คชก. ลงพื้นที่ตรวจสอบโครงการโรงไฟฟ้าพลังน้ำแบบสูบกลับเขื่อนจุฬาภรณ์ กฟผ. จ.ชัยภูมิ นำข้อมูลประกอบการพิจารณารายงานการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม (EIA)
กระทรวงพลังงาน กฟผ. และพันธมิตร จัด Box set ยกขบวนของขวัญ ส่วนลดที่พักเขื่อน ส่งมอบความสุขให้คนไทยรับปีใหม่ 2566
(มีคลิป)งานกีฬามิตรภาพ กฟผ. – ฟฟล. ประจำปี 2565 เสริมความสัมพันธ์เสริมความมั่นคงด้านพลังงานไฟฟ้า ณ สนามกีฬามหาวิทยาลัยราชภัฏเลย
ขอนแก่นจัดกิจกรรมวันดินโลก ประจำปี 2565
โครงการปรับปรุงและขยายระบบส่งไฟฟ้าที่เสื่อมสภาพตามอายุการใช้งานมอบงบประมาณสนับสนุนเพื่อสมทบทุนในการติดตั้งเครื่องปรับอากาศห้องตรวจผู้ป่วยนอก รพ.ศรีนครินทร์
ขอนแก่นมีมติให้เขื่อนอุบลรัตน์ปล่อยน้ำเพิ่มได้หลังน้ำเกินระดับความจุ 100%แล้วระยะแรกห้ามเกิน 41 ล้าน ลบ.ม.ต่อวัน