วันเสาร์, 12 ตุลาคม 2567

(มีคลิป)ชมโซลาร์เซลล์ลอยน้ำไฮบริดเขื่อนสิรินธร จ.อุบลราชธานี เป็นพลังงานสะอาดเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม หนุนเป็นแหล่งท่องเที่ยวใหม่

กฟผ.เดินหน้าผลิตไฟฟ้าพลังงานสะอาด นำสื่อมวลชนจังหวัดขอนแก่น ชมโซลาร์เซลล์ลอยน้ำไฮบริดเขื่อนสิรินธร จ.อุบลราชธานี
กฟผ. นำคณะสื่อมวลชนจังหวัดขอนแก่น ดูงานเชิงประจักษ์ แลกเปลี่ยนประสบการณ์ พร้อมสัมผัสวิถีชุมชนรอบพื้นที่โรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ทุ่นลอยน้ำร่วมกับโรงไฟฟ้าพลังน้ำเขื่อนสิรินธร แหล่งผลิตไฟฟ้าพลังงานสะอาด และเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจ หนุนแหล่งท่องเที่ยวใหม่ เตรียมเดินหน้าต่อโครงการโซลาร์เซลล์ลอยน้ำไฮบริดเขื่อนอุบลรัตน์ จ.ขอนแก่น


   เมื่อที่ 25 พฤษภาคม 2565 การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) นำโดยนายฉัตรชัย มาวงศ์ ผู้อำนวยการฝ่ายพัฒนาโรงไฟฟ้าพลังน้ำและพลังงาหมุนเวียน นายสังวาล พรมสำลี หัวหน้ากองโรงไฟฟ้าเขื่อนสิรินธร และนางอโนซา จงก้องเกียรติ หัวหน้ากองประสานสื่อสารสายงานหลัก ฝ่ายสื่อสารและประชาสัมพันธ์องค์การ น.ส.ชนินาถ เจริญผล หัวหน้าแผนกสื่อสารองค์การ กฟผ. ให้การต้อนรับสื่อมวลชนจังหวัดขอนแก่น ภายใต้การนำของ น.ส.อภิสราธรณ์ ปัณณะมณีธนโชติ วิทยากรระดับ 8 กองประชาสัมพันธ์และชุมชนสัมพันธ์ระบบส่ง (กชส-ย.) ผู้ช่วยผู้ว่าการบริหารจัดการความยั่งยืน (ชยย.) ฝ่ายปฏิบัติการภาคตะวันออกเฉียงเหนือ(อปอ.) การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) ตัวแทนโรงไฟฟ้าน้ำพอง และตัวแทนโรงไฟฟ้าเขื่อนอุบลรัตน์ ในกิจกรรมนำเครือข่ายสื่อมวลชนจังหวัดขอนแก่น ศึกษาดูงานเชิงประจักษ์ ณ โรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ทุ่นลอยน้ำร่วมกับโรงไฟฟ้าพลังน้ำเขื่อนสิรินธร จังหวัดอุบลราชธานี ซึ่งจัดขึ้นระหว่างวันที่ 24 -26พฤษภาคม 2565 เพื่อสื่อสารสร้างความรู้ ความเข้าใจแผนการพัฒนาโครงการโซลาร์เชซลล์ลอยน้ำไฮบริดของ กฟผ.เปิดมุมมองการผลิตไฟฟ้าพลังงานสะอาด ผ่านการรับฟังบรรยายสรุป ลงพื้นที่ศึกษาดูงาน พร้อมแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกับชุมชน สื่อมวลชนจังหวัดอุบลราชธานี และผู้บริหาร กฟผ. ณ เขื่อนสิรินธร จังหวัดอุบลราชธานี


   นายฉัตรชัย มาวงศ์ ผู้อำนวยการฝ่ายพัฒนาโรงไฟฟ้าพลังน้ำและพลังงานหมุนเวียน กล่าวว่า โรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ทุ่นลอยน้ำร่วมกับโรงไฟฟ้าพลังน้ำเขื่อนสิรินธรเป็นโครงการนำร่องแห่งแรกของ กฟผ. ที่ผสมผสานการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์และพลังน้ำจากเขื่อน มีขนาดกำลังการผลิต 45 เมกะวัตต์ และได้จ่ายไฟฟ้าเข้าระบบเชิงพาณิชย์ไปแล้ว เมื่อวันที่ 31 ตุลาคม 2564 โดยการดำเนินงานของโรงไฟฟ้าแห่งนี้ได้ผลสำเร็จเป็นไปตามเป้าหมาย คือ สามารถผลิตไฟฟ้าจากพลังงานสะอาดที่มีเสถียรภาพ มีราคาถูก เป็นมิตรต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม ในปัจจุบันโรงไฟฟ้าแห่งนี้ได้กลายเป็นแหล่งท่องเที่ยวและศึกษาดูงานที่สำคัญที่ดึงดูดนักท่องเที่ยวจากทั่วทั้งประเทศ มาสัมผัสความงดงามและยิ่งใหญ่ของโซลาร์เซลล์ลอยน้ำไฮบริดที่ใหญ่ที่สุดในโลก ช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจสร้างรายได้ให้กับชุมชน จากการที่นักท่องเที่ยวได้เข้ามาจับจ่ายสินค้าชุมชน และสนับสนุนกลุ่มแพท่องเที่ยวในพื้นที่อีกด้วย
  

จากนั้นได้พาคณะสื่อมวลชนลงพื้นที่ศึกษาดูงานโรงไฟฟ้าฯ ชมเส้นทางเดินชมธรรมชาติ และเยี่ยมชมศูนย์เรียนรู้สวนเกษตรผสมผสานชีววิถี “หมอลำ ทำเกษตร” ที่เขื่อนสิรินธรได้ให้การสนับสนุน โดยศูนย์การเรียนรู้แห่งนี้ได้รับรางวัลชนะเลิศโครงการชีววิถีเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน กฟผ.ระดับประเทศ ประเภทราษฎร ในปี 2564 รวมทั้งได้ร่วมรับฟังประสบการณ์ตรงจากชุมชนที่อาศัยรอบพื้นที่เขื่อนสิรินธร แลกเปลี่ยนเรียนรู้กับสื่อมวลชนจังหวัดอุบลราชธานี และรับฟังเรื่องเล่าประสบการณ์การทำงานและความท้าทายของงานก่อสร้างโครงการโซลาร์เซลล์ลอยน้ำไฮบริดเขื่อนสิรินธรผ่านมุมมองของผู้รับผิดชอบโครงการ


    กฟผ. มีแผนพัฒนาโรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ทุ่นลอยน้ำร่วมกับโรงไฟฟ้าพลังน้ำ ตามแผนพัฒนากำลังผลิตไฟฟ้าของประเทศไทย พ.ศ.2561-2580 (PDP 2018 Rev.1) ที่ส่งเสริมผลิตไฟฟ้าพลังงานสะอาดหรือพลังงานหมุนเวียน (RE) เพื่อการมุ่งสู่เป้าหมายความเป็นกลางทางคาร์บอน หรือ การลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์สุทธิให้เป็นศูนย์ (Carbon Neutrality) โดย กฟผ. มีแผนพัฒนาโครงการฯ ในพื้นที่ 9 เขื่อน 16 โครงการ รวมขนาดกำลังการผลิต 2,725 เมกะวัตต์ และจากผลสำเร็จของโครงการฯเขื่อนสิรินธร กฟผ. ได้เดินหน้าพัฒนาโครงการต่อที่เขื่อนอุบลรัตน์ จังหวัดขอนแก่น ขนาดกำลังผลิต 24 เมกะวัตต์ พร้อมต่อยอดเพื่อเพิ่มเสถียรภาพของการผลิตไฟฟ้าให้ดียิ่งขึ้น โดยติดตั้งแบตเตอรี่ (Battery Energy Storage System – BESS) ทำให้การผลิตไฟฟ้ามีเสถียรภาพในช่วงการสับเปลี่ยนระหว่างพลังน้ำและพลังงานแสงอาทิตย์ ส่งผลให้สามารถผลิตไฟฟ้าได้อย่างสม่ำเสมอและต่อเนื่องมากยิ่งขึ้น

ผู้สนับสนุนแพลตฟอร์มข่าว-0628929797 DasKLf.jpg 8JER4J.jpg Da2r0R.png DpkFp1.jpg banner1-08.gif Dp1Qd0.png 2wk8Dt.jpg 2wcwIv.jpg

Loading


เรื่องที่เกี่ยวข้อง
กฟผ. ร่วมกับคณะวิศวกรรมศาสตร์ มข.และสถาบันวิศวกรรมปัญญาประดิษฐ์ จัดงาน EGAT OpenHose: Smart Energy Solutions 2567 นำเสนอเทคโนโลยีและนวัตกรรมพลังงานล้ำสมัย
อค-ปส. และ อปอ. ร่วมจัดกิจกรรมวันเด็ก ประจำปี 2567 และมอบงบประมาณสนับสนุนโครงการจัดซื้อของเล่นเพื่อส่งเสริมพัฒนาการเด็กปฐมวัย ในพื้นที่ก่อสร้างสถานีไฟฟ้าแรงสูงขอนแก่น 1
สำนักบริการวิชาการ มข. จับอบรม บูรณาการความรู้ระเบียบกฎหมาย ฯ เพื่อการพัฒนาบุคลากรท้องถิ่น” รุ่นที่ 8
โครงการปรับปรุงและขยายระบบส่งไฟฟ้าที่เสื่อมสภาพตามอายุการใช้งาน (อค-ปส.) ร่วมกับอปอ. และอชก.จัดกิจกรรม โครงการแว่นแก้ว
กฟผ. รับพระราชทานรางวัล “องค์กรดีเด่น” ในงานพระราชทานรางวัล “เทพทอง ครั้งที่ 21”
โครงการปรับปรุงและขยายระบบส่งไฟฟ้าที่เสื่อมสภาพตามอายุการใช้งาน นำคณะสื่อมวลชนฯเยี่ยมชมสถานีไฟฟ้า สำนักงานลำภูรา จังหวัดตรัง